วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู



รูปแบบตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

          สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ กระทรวงศึกษาธิการได้ทำหนังสือขอพระราชทาน “สัญลักษณ์ประจำสถาบันราชภัฏ” และแนบรูปแบบสัญลักษณ์ ทั้ง 41 สถาบัน และ 1 สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ พร้อมคำอธิบายประกอบ เมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ.2538 ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯพระราชทานตราสัญลักษณ์ประจำสถาบันราชภัฏและสำนักงานสถาบันราชภัฏ ตามที่ขอพระราชทาน พระมหากรุณาธิคุณ เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2538 
สัญลักษณ์ประจำสถาบันราชภัฏเป็นรูปพระราชลัญจกรประจำพระองค์ รัชกาลที่ 9 ตราที่ใช้เป็นพระประทับกำกับพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ในต้นเอกสารสำคัญส่วนพระองค์ซึ่งไม่เกี่ยวด้วยราชการแผ่นดิน เช่น ใบประกาศนียบัตรกำกับเหรียญรัตนาภรณ์ เป็นต้น พระราชลัญจกรประจำพระองค์ รัชกาลที่ 9 เป็นรูปพระที่นั่งอัฐทิศ ประกอบด้วยวงจักร กลางวงจักร มีอักขระเป็น อุ หรือเลข ๙ รอบวงจักร มีรัศมีเปล่งออกโดยรอบเหนือจักรเป็นรูปเศวตฉัตรเจ็ดชั้นตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศ แปลความหมายว่า ทรงมีพระบรมเดชา นุภาพในแผ่นดิน โดยที่วันบรมราชาภิเษกตามโบราณพระราชประเพณีได้เสด็จประทับเหนือพระที่นั่งอัฐทิศ สมาชิกสภาถวายน้ำอภิเษกจากทิศทั้งแปด





นี่คือเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คที่ถูกพัฒนามาจากเครื่องคอมพิวเตอร์  เพื่อให้ง่ายกับการใช้งานและพกพาสะดวกมากขึ้น
คอมพิวเตอร์ (อังกฤษcomputer) หรือในภาษาไทยว่า คณิตกรณ์[2][3] เป็นเครื่องจักรแบบสั่งการได้ที่ออกแบบมาเพื่อดำเนินการกับลำดับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ โดยอนุกรมนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อพร้อม ส่งผลให้คอมพิวเตอร์สามารถแก้ปัญหาได้มากมาย
คอมพิวเตอร์ถูกประดิษฐ์ออกมาให้ประกอบไปด้วยความจำรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูล อย่างน้อยหนึ่งส่วนที่มีหน้าที่ดำเนินการคำนวณเกี่ยวกับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ และตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ และส่วนควบคุมที่ใช้เปลี่ยนแปลงลำดับของตัวดำเนินการโดยยึดสารสนเทศที่ถูกเก็บไว้เป็นหลัก อุปกรณ์เหล่านี้จะยอมให้นำเข้าข้อมูลจากแหล่งภายนอก และส่งผลจากการคำนวณตัวดำเนินการออกไป
หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์มีหน้าที่ดำเนินการกับคำสั่งต่างๆ ที่คอยสั่งให้อ่าน ประมวล และเก็บข้อมูลไว้ คำสั่งต่างๆ ที่มีเงื่อนไขจะแปลงชุดคำสั่งให้ระบบและสิ่งแวดล้อมรอบๆ เป็นฟังก์ชันที่สถานะปัจจุบัน
คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกถูกพัฒนาขึ้นในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ค.ศ. 1940 – ค.ศ. 1945) แรกเริ่มนั้น คอมพิวเตอร์มีขนาดเท่ากับห้องขนาดใหญ่ ซึ่งใช้พลังงานมากเท่ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) สมัยใหม่หลายร้อยเครื่องรวมกัน[4]
คอมพิวเตอร์ในสมัยใหม่นี้ผลิตขึ้นโดยใช้วงจรรวม หรือวงจรไอซี (Integrated circuit)โดยมีความจุมากกว่าสมัยก่อนล้านถึงพันล้านเท่า และขนาดของตัวเครื่องใช้พื้นที่เพียงเศษส่วนเล็กน้อยเท่านั้น คอมพิวเตอร์อย่างง่ายมีขนาดเล็กพอที่จะถูกบรรจุไว้ในอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์มือถือนี้ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ขนาดเล็ก และหากจะมีคนพูดถึงคำว่า "คอมพิวเตอร์" มักจะหมายถึงคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของยุคสารสนเทศ อย่างไรก็ดี ยังมีคอมพิวเตอร์ชนิดฝังอีกมากมายที่พบได้ตั้งแต่ในเครื่องเล่นเอ็มพีสามจนถึงเครื่องบินขับไล่และของเล่นชนิดต่างๆ จนถึงหุ่นยนต์อุตสาหกรรม

หุ่นยนต์ หรือ โรบอตเริ่มเข้ามามีบทบาทกับชีวิตของมนุษย์ในด้านต่าง ๆ
หุ่นยนต์ หรือ โรบอต (robot) คือเครื่องจักรกลชนิดหนึ่ง มีลักษณะโครงสร้างและรูปร่างแตกต่างกัน หุ่นยนต์ในแต่ละประเภทจะมีหน้าที่การทำงานในด้านต่าง ๆ ตามการควบคุมโดยตรงของมนุษย์ การควบคุมระบบต่าง ๆ ในการสั่งงานระหว่างหุ่นยนต์และมนุษย์ สามารถทำได้โดยทางอ้อมและอัตโนมัติ โดยทั่วไปหุ่นยนต์ถูกสร้างขึ้นเพื่อสำหรับงานที่มีความยากลำบากเช่น งานสำรวจในพื้นที่บริเวณแคบหรืองานสำรวจดวงจันทร์ดาวเคราะห์ที่ไม่มีสิ่งมีชีวิต ปัจจุบันเทคโนโลยีของหุ่นยนต์เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เริ่มเข้ามามีบทบาทกับชีวิตของมนุษย์ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านอุตสาหกรรมการผลิต แตกต่างจากเมื่อก่อนที่หุ่นยนต์มักถูกนำไปใช้ ในงานอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบันมีการนำหุ่นยนต์มาใช้งานมากขึ้น เช่น หุ่นยนต์ที่ใช้ในทางการแพทย์ หุ่นยนต์สำหรับงานสำรวจ หุ่นยนต์ที่ใช้งานในอวกาศ หรือแม้แต่หุ่นยนต์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องเล่นของมนุษย์ จนกระทั่งในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาให้หุ่นยนต์นั้นมีลักษณะที่คล้ายมนุษย์ เพื่อให้อาศัยอยู่ร่วมกันกับมนุษย์ ให้ได้ในชีวิตประจำวัน
หุ่นยนต์ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะการใช้งาน คือ 1.หุ่นยนต์ชนิดที่ติดตั้งอยู่กับที่ (fixed robot) เป็นหุ่นยนต์ที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ไปไหนได้ด้วยตัวเอง มีลักษณะเป็นแขนกล สามารถขยับและเคลื่อนไหวได้เฉพาะแต่ละข้อต่อ ภายในตัวเองเท่านั้น มักนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เช่นโรงงานประกอบรถยนต์ 2. หุ่นยนต์ชนิดที่เคลื่อนที่ได้ (mobile robot) หุ่นยนต์ประเภทนี้จะแตกต่างจากหุ่นยนต์ที่ติดตั้งอยู่กับที่ เพราะสามารเคลื่อนที่ไปไหนมาไหนได้ด้วยตัวเอง โดยการใช้ล้อหรือการใช้ขา ซึ่งหุ่นยนต์ประเภทนี้ปัจจุบันยังเป็นงานวิจัยที่ทำการศึกษาอยู่ภายในห้องทดลอง เพื่อพัฒนาออกมาใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ เช่นหุ่นยนต์สำรวจดาวอังคาร ขององค์การนาซ่า[1]
ปัจจุบันมีการพัฒนาหุ่นยนต์ให้มีลักษณะเป็นสัตว์เลี้ยงอย่างสุนัข เพื่อให้มาเป็นเพื่อนเล่นกับมนุษย์ เช่น หุ่นยนต์ IBO ของบริษัทโซนี่[2] หรือแม้กระทั่งมีการพัฒนาหุ่นยนต์ให้สามารถเคลื่อนที่แบบสองขาได้อย่างมนุษย์ เพื่ออนาคตจะสามารถนำไปใช้ในงานที่มีความเสี่ยงต่ออันตรายแทนมนุษย์ ในประเทศไทย สถานศึกษาในระดับอุดมศึกษาหลายแห่งหรือองค์กรของภาครัฐ และเอกชน ได้เล็งเห็นถึงประโยนช์ของเทคโนโลยีหุ่นยนต์ และร่วมเป็นแรงผลักดันให้เยาว์ชนในชาติ พัฒนาองค์ความรู้ เพื่อให้ก้าวทันเทคโนโลยีของประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยการจัดให้มีการแข่งขันหุ่นยนต์ขึ้นในประเทศไทยหลายรายการ เพื่อให้นักศึกษาได้สามารถ นำความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้งานได้ เป็นการเสริมสร้างและพัฒนาทักษะ เพื่อนำความรู้ไปพัฒนาประเทศในอนาคต




ที่คือ i pad มีการใช้งานที่คล้ายกับเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค มีขนาดที่กระทัดรัดสามารถพกพาไปไหนมาไหนได้สะดวกสะบายมากขึ้น มีรูปร่างที่ทันสมัย
ไอแพด (อังกฤษiPad) คือแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบและพัฒนาโดยบริษัทแอปเปิล โดยมีหน้าที่หลักในด้านมัลติมีเดียในด้าน ภาพยนตร์ เพลง เกม อีบุ๊ก และท่องเว็บไซต์ ขนาดและน้ำหนักของไอแพดมีขนาดเบากว่าแล็ปท็อป โดยมีน้ำหนัก 680 กรัม และ 601 กรัม สำหรับไอแพดรุ่นแรกและไอแพดรุ่นสองตามลำดับ[16]
ไอแพดเริ่มวางจำหน่ายครั้งแรกในเดือนเมษายน พ.ศ. 2553 (รุ่นWi-fi) และในเดือนเมษายน พ.ศ. 2553 (รุ่นWi-fiพร้อมกับ 3G) โดยไอแพดสามารถทำยอดขายได้ถึง 3 ล้านเครื่องในช่วงเวลาเพียง 80 วัน[17] ส่วนการวางจำหน่าย ผ่านตัวแทนอย่างเป็นทางการในประเทศไทย เพิ่งเริ่มเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2553 ไอแพดมาพร้อมกับเทคโนโลยี Multi Touch สามารถเล่นวีดีโอ, ฟังเพลง, ดูรูปภาพและเล่นอินเทอร์เน็ตได้ ไอแพดมีหน้าจอขนาด 9.7 นิ้ว มีความละเอียด 768 x 1024 พิกเซล หนา 0.5 นิ้ว ใช้ซีพียู Apple A4 ที่พัฒนาขึ้นเองโดยบริษัทแอปเปิล ใช้ระบบปฏิบัติการไอโฟนรุ่น 3.2 ซึ่งสามารถใช้โปรแกรมต่างๆ ร่วมกับไอพอดทัช และ ไอโฟนได้ ปัจจุบันใช้ระบบปฏิบัติการ iOS เวอร์ชัน 4.3.5

ไอโฟนเป็นโทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตและมัลติมีเดีย

ไอโฟน (อังกฤษiPhone) เป็นโทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตและมัลติมีเดีย ผลิตและจำหน่ายโดยบริษัทแอปเปิล โดยการทำงานของไอโฟนสามารถใช้งานส่งอีเมล ใช้เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ ส่งเอสเอ็มเอส ท่องอินเทอร์เน็ตผ่านทางซอฟต์แวร์ซาฟารี ค้นหาแผนที่ ฟังเพลง และความสามารถอื่น โดยมีอุปกรณ์หลักประกอบด้วยWi-Fi (802.11b/g) บลูทูธ 2.0 และกล้องถ่ายภาพ 2.0-megapixel ไอโฟนรุ่นแรกมีลักษณะ 2.5G quad band GSM และ EDGE และรุ่นที่สองใช้ UMTS และ HSDPA
แอปเปิลได้เปิดเผยไอโฟนรุ่นแรกโดย สตีฟ จอบส์ ในงานแม็คเวิลด์ วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2550 และวางจำหน่ายครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ไอโฟนได้ชื่อว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ยอดเยี่ยมประจำปีจากนิตยสารไทม์ ประจำปี 2550[2] โดยมีรุ่นถัดมาคือ ไอโฟน 3G และ ไอโฟน 3GS และรุ่นล่าสุด ไอโฟน 4 ได้เปิดตัวในวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2553
การทำงานของโทรศัพท์ไอโฟนนี้จะแตกต่างจากโทรศัพท์มือถืออื่น โดยไอโฟนจะไม่มีปุ่มสำหรับกดหมายเลขโทรศัพท์ โดยการทำงานทั้งหมดจะทำงานผ่านหน้าจอโดยการสัมผัสมัลติทัชผ่านคำสั่งต่างๆ โดยมีระบบปฏิบัติการหลัก iOS และมีระบบเซ็นเซอร์ในการรับรู้สภาพของเครื่องเพื่อกำหนดการแสดงผลของจอภาพ เช่นหากวางเครื่องในแนวตั้งระบบก็จะปรับให้แสดงผลในแนวตั้ง หากวางในแนวนอนระบบก็จะแสดงผลในแนวนอน



 โทรทัศน์ เป็นระบบโทรคมนาคมสำหรับการกระจายและรับภาพเคลื่อนไหวและเสียงระยะไกล
          โทรทัศน์ เป็นระบบโทรคมนาคมสำหรับการกระจายและรับภาพเคลื่อนไหวและเสียงระยะไกล คำนี้ยังหมายถึงรายการโทรทัศน์และการแพร่ภาพอีกด้วย คำว่าโทรทัศน์ในภาษาไทย มีที่มาจากคำในภาษาอังกฤษ คือ television ซึ่งเป็นคำผสมจากคำกรีก tele- ("ระยะไกล" — โทร-) และ -vision ที่มาจากภาษาละติน visio ("การมองเห็น" — ทัศน์) มักเรียกย่อเป็น TV (ทีวี) โทรทัศนขาว-ดำเครื่องแรกของโลก ที่ถูกสร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2468 เป็นผลงานการประดิษฐ์ของจอห์น ลอกกี้ เบรียด ชาวสกอตแลนด์[1]
ประเทศไทยเริ่มมีการแพร่ภาพโทรทัศน์เมื่อ 3 มีนาคม พ.ศ. 2491 โดย บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด แพร่ภาพทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวี ช่อง 4 ผ่านระบบโทรทัศน์ขาวดำจากวังบางขุนพรหม (ปัจจุบันเป็นโมเดิร์นไนน์ ทีวี) ต่อมามีการพัฒนาเป็นระบบโทรทัศน์สี ซึ่งสถานีโทรทัศน์สีแห่งแรกของไทย คือ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เริ่มแพร่ภาพครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 สำหรับ สถานีโทรทัศน์แห่งชาติ คือ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ / เอ็นบีที) เริ่มแพร่ภาพครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 สำหรับ สถานีโทรทัศน์สาธารณะ คือ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เริ่มแพร่ภาพครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551 และในอนาคตตั้งเป้าว่าจะมีแผนการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์แบบฟรีทีวีเพิ่มขึ้นอีก 3 ช่องดังต่อไปนี้
  • สถานีโทรทัศน์ไทยสยามทีวี เริ่มแพร่ภาพครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2555 (ภายไต้การกำกับดูแลของกรมประชาสัมพันธ์)
  • สถานีโทรทัศน์เจเคเอส เริ่มแพร่ภาพครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2556 (สถานีโทรทัศน์เสรี)
  • สถานีโทรทัศน์อีทีวี เริ่มแพร่ภาพครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2557 (สถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษา)


การส่งโทรทัศน์ในระบบ VHF และ UHF ในประเทศไทย


คลื่นความถี่ที่ถูกส่งในประเทศไทย

  • VHF มีจำนวน 11 ช่อง คือ ช่อง 2-12 (โดยแบ่งกัน 2 ลักษณะ คือความถี่ต่ำ คือ ช่อง 2-4 และ ความถี่สูง คือ ช่อง 5-12)
  • UHF มีจำนวน 40 ช่อง คือ ช่อง 21-60

ผู้ติดตาม